เทคนิคการเขียนบทความ SEO

การเขียนบทความ SEO เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นที่ต้องการเข้าใจหลักการและเทคนิคในการเพิ่มความน่าสนใจและค้นหาในเว็บไซต์ของคุณ เรามีเคล็ดลับพื้นฐานในการเขียนบทความทั้งหมดที่คุณต้องรู้เพื่อเริ่มต้นเขียนบทความ SEO อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

1. เลือกหัวข้อที่เหมาะสม

การเลือกหัวข้อที่เหมาะสมและน่าสนใจเป็นปัจจัยสำคัญในการเขียนบทความ SEO ให้คุณสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและน่าสนใจต่อผู้อ่าน ระบุเป้าหมายของบทความและให้ข้อมูลที่สร้างความสนใจ ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน

2. วิเคราะห์คีย์เวิร์ด (KW Research)

การค้นหาและวิเคราะห์คีย์เวิร์ดเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการหาหัวข้อสร้างเป็นบทความ เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือ SEO เพื่อหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของคุณและมีการค้นหามากๆ ใช้คำสำคัญในการเขียนบทความ SEO เพื่อเพิ่มโอกาสในการปรากฏบนผลการค้นหา

อ่านบทความ : เทคนิคการหาคีย์เวิร์ด (Keyword Research) แบบละเอียด

3. เขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพ

การเขียนเนื้อหาที่ทั้งเหมาะสมกับเครื่องมือค้นหาและง่ายต่อการอ่าน ใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของคุณได้อย่างง่ายดายและเพลิดเพลินในการอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหา ไปดูวิธีการเขียนบทความ SEO ให้ถูกหลักกัน

3.1 ทำสารบัญบทความ

สารบัญบทความใน WordPress มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้อ่าน โดยเฉพาะบทความที่มีเนื้อหายาวและแบ่งเป็นหัวข้อย่อยหลายหัวข้อ สารบัญจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงหัวข้อที่ต้องการอ่านได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เราสามารถสร้างสารบัญได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 คือ การใช้ปลั๊กอิน WordPress มีปลั๊กอินหลายตัวที่สามารถช่วยสร้างสารบัญบทความได้ โดยปลั๊กอินที่ได้รับความนิยม ได้แก่

ฟังก์ชั่นสารบัญบทความ หรือ Table Of Content ในธีม Avada

ฟังก์ชั่นสารบัญบทความ หรือ Table Of Content ในธีม Avada

วิธีที่ 2 คือ การใช้ฟังก์ชั่น scroll to ที่มากับธีมแต่บอกก่อนว่าไม่ใช่ทุกธีมที่จะมีฟังก์ชั่นนี้ อย่างเว็บ ehowme ใช้ธีม Avada อยู่ ซึ่งจะมีฟังก์ชั่น Table Of Contents ที่อยู่ใน Element มาให้ด้วย (ดูตัวอย่างสารบัญของธีม Avada ด้านบน ในบทความนี้)

3.2 ใส่ Heading Tag ให้กับหัวข้อต่างๆ

  • ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น Heading Tag ช่วยแบ่งเนื้อหาของบทความออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาในบทความได้ง่ายขึ้น Heading Tag ช่วยบอกเครื่องมือค้นหาว่าเนื้อหาส่วนใดคือหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของบทความ
  • ช่วยให้บทความดูน่าสนใจมากขึ้น Heading Tag ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับบทความและดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

Heading Tag มี 6 ระดับด้วยกัน คือ H1 ถึง H6 โดย H1 เป็น Heading ที่ใหญ่ที่สุดและ H6 เป็น Heading ที่เล็กที่สุด Heading และใน 1 เพจควรมีแค่ H1 เพียงตัวเดียวที่เป็นชื่อ Title ของบทความเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ Heading Tag มากเกินไป

3.3 เขียนย่อหน้า

การเขียนย่อหน้าสั้นๆ เนื้อหาไม่เกิน 100 คำ นอกจากจะช่วยให้บทความดูน่าสนใจมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็นสำคัญได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องอ่านบทความทั้งหมดอีกด้วย

3.4 ใช้การกำหนดรูปแบบตัวอักษรแบบต่างๆ

  • BOLD & Italic การใช้ตัวหนา(bold) และตัวเอียง(italic) เพื่อเน้นความสำคัญของคำคำนั้น ซึ่ง Google จะมองว่าเป็นคำที่สำคัญกว่าคำอื่นๆ ใช้กับคีย์เวิรดหลัก หรือหัวข้อสำคัญต่างๆ
  • Bullet & Number การใช้ Bullet และตัวเลข ในหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย จะช่วยให้เนื้อหาอ่านง่าย เป็นลำดับ
  • Paragraph Break การแบ่งย่อหน้าช่วบให้เนื้อหาในบทความของเราอ่านง่ายขึ่น โดยในหนึ่งย่อหน้าไม่ควรมีความยาวเกินไป พยายามให้อ่านจบย่อหน้าได้โดยไม่ต้องเลื่อนจอโทรศัพท์ ซึ่งความยาวที่แนะนำสำหรับ Desktop คือ ไม่เกิน 5 บรรทัด
  • Quote การแทรกวลี คำพูด หรือ Quote ระหว่างย่อหน้า นอกจากจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านและให้ผู้อ่านได้พักสายตาแล้วนั้น ยังสามารถช่วยเน้นย้ำประเด็นสำคัญในบทความของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวลี คำพูด หรือ Quote นั้นมาจากบุคคลหรือแเหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

3.5 ความยาวของเนื้อหา

ถ้าอยากติดอันดับ Google เนื้อหาของบทความควรมีความยาวประมาณ 1400-1500 คำ จากการสำรวจของเว็บไซต์ Highervisibility โดยหน้าที่ติดอันดับในหน้าแรก มีจำนวนเนื้อหาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1447 คำ (ข้อมูลวันที่ 26 ธันวาคม 2566)

3.6 Keyword Density

คำแนะนำสำหรับการกระจายของคำหลัก (keyword density) อย่างเป็นธรรมชาติ ในการเขียนบทความ SEO ควรอยู่ที่ประมาณ 1-2% ของจำนวนคำทั้งหมดในบทความ หมายความว่าถ้าบทความของคุณมี 1,000 คำ คุณควรใช้คำหลักเป้าหมายประมาณ 10-20 คำเท่านั้น การใส่คำหลักมากเกินไปอาจทำให้บทความของคุณดูไม่เป็นธรรมชาติและอาจถูกมองว่าเป็นการแทรกแซง (keyword stuffing) ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการจัดอันดับของคุณได้

นอกจากนี้ คุณควรกระจายคำหลักของคุณอย่างเหมาะสมทั่วทั้งบทความ อย่าใส่คำหลักทั้งหมดของคุณในย่อหน้าแรกหรือสองย่อหน้าแรกเท่านั้น พยายามกระจายคำหลักของคุณให้ทั่วทั้งบทความเพื่อให้บทความอ่านง่ายและน่าสนใจ

เคล็ดลับสำหรับการจัดวางคำหลักอย่างเหมาะสม:

  • ใส่คำหลักของคุณในชื่อเรื่องและคำอธิบาย Meta
  • ใส่คำหลักของคุณในย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายของบทความ
  • ใส่คำหลักของคุณในส่วนหัวย่อย (headings)
  • ใช้คำหลักของคุณในลิงก์ภายใน
  • ใช้คำหลักของคุณใน Alt text ของรูปภาพ

ใช้ LSI Keyword ลงไปในบทความของเราแทนการใช้คีย์เวิร์ดหลักแบบตรงๆ

Keyword Latent Semantic Indexing (LSI) เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword หลักของคุณ แต่ไม่ซ้ำกัน แต่เป็นคำที่จะช่วยอธิบายบริบทและสิ่งที่คอนเทนต์บนหน้าเพจนั้นๆ ต้องการสื่อสารจริงๆ เพื่อให้ Bot ของ Google หรือคนอ่านเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากคำ Keyword หลักของหน้าเว็บไซต์ คือคำว่า “บัตรเครดิต” LSI Keyword ของคำนี้จะเป็น เงิน, คะแนนเครดิต, วงเงินเครดิต, อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

ความสำคัญของ LSI Keyword คือ การช่วยให้ Google เข้าใจบริบทในเว็บไซต์มากขึ้น เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่า LSI Keyword คือ คำแวดล้อมคำ Keyword หลักที่ช่วยให้ Google เข้าใจบริบทที่พูดถึงในเว็บไซต์แต่ละหน้าได้มากขึ้น ทำให้ลดปัญหาของผลการค้นหาที่ไม่ตรงกับ Search Intent ของคนใช้งานจากความกำกวมของเนื้อหาที่อาจเกิดขึ้นได้

3.7 เขียนเนื้อหาสำหรับผู้อ่าน ไม่ใช่สำหรับ Search Engine

Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้อ่าน ยิ่งประสบการณ์ของผู้ใช้บนไซต์ของคุณดีเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น ดังนั้นจึงสำคัญมากที่จะต้องเขียนเนื้อหาเพื่อคนไม่ใช่สำหรับ search engines บางคน Spin บทความออกมาแต่อ่านไม่รู้เรื่อง ซึ่งช่วงแรกอันดับที่ได้ก็อาจจะดี แต่พอซักพักอันดับก็จะร่วงไป ซึ่งส่งผลเสียต่อภาพรวมของเว็บไซต์เราอย่างแน่นอน

4. การเขียน Title Tag, Meta Description

Title Tag และ Meta Description ที่แสดงผลบนการค้นหาของ Google

Title Tag และ Meta Description ที่แสดงผลบนการค้นหาของ Google

Title Tag และ Meta Description เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการทำ SEO (Search Engine Optimization) โดย Title Tag เป็นข้อความที่แสดงผลด้านบนของผลการค้นหาของ Google ในขณะที่ Meta Description เป็นคำอธิบายย่อของเนื้อหาในหน้าเว็บ ซึ่งทั้ง Title Tag และ Meta Description จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ค้นหาและช่วยให้พวกเขาตัดสินใจว่าต้องการคลิกลิงก์ไปยังหน้าเว็บของคุณหรือไม่

วิธีการเขียน Title Tag

Title Tag ควรมีความยาวไม่เกิน 60 ตัวอักษรรวมช่องว่าง และต้องอธิบายเนื้อหาของหน้านั้นๆ ได้อย่างชัดเจนและกระชับ ควรใช้คำหลัก (Keyword) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหน้านั้นๆ อยู่ในช่วงต้นของ Title Tag เพื่อช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาของหน้านั้นได้ดีขึ้น

วิธีการเขียน Meta Description

Meta Description ควรมีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษรรวมช่องว่าง และต้องอธิบายเนื้อหาของหน้านั้นๆ ได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ ควรใช้คำหลัก (Keyword) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหน้านั้นๆ อยู่ในช่วงต้นของ Meta Description เพื่อช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาของหน้านั้นได้ดีขึ้น และดึงดูดผู้เข้าชมให้คลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคุณ

ตัวอย่าง Title Tag และ Meta Description ที่ดี:

  • Title Tag: สอนทำ SEO อย่างไรให้ติดอันดับ Google
  • Meta Description: เรียนรู้เทคนิค SEO ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับ Google ได้

ตัวอย่าง Title Tag และ Meta Description ที่ไม่ดี:

  • Title Tag: SEO
  • Meta Description: SEO คืออะไร

Title Tag และ Meta Description ที่ดีจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบนผลการค้นหาของ Google ได้ดีขึ้น ดังนั้นคุณควรใส่ใจในการเขียน Title Tag และ Meta Description ให้กับทุกหน้าเว็บบนเว็บไซต์ของคุณ

5. ทำ Image Optimization ให้เหมาะสม

การทำ Image Optimization คือการปรับแต่งรูปภาพบนเว็บไซต์ เพื่อให้รูปภาพมีขนาดไฟล์เล็กลงโดยไม่ลดทอนคุณภาพของรูปภาพ โดยการทำ Image Optimization จะช่วยปรับปรุงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งผู้ใช้และเครื่องมือค้นหา

5.1 เลือกรูปแบบไฟล์ Format ที่เหมาะสม

รูปภาพแต่ละรูปแบบจะมีขนาดไฟล์และคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว รูปภาพ JPEG จะมีขนาดไฟล์เล็กกว่ารูปภาพ PNG แต่จะมีความละเอียดต่ำกว่า รูปภาพ PNG จะมีขนาดไฟล์ใหญ่กว่ารูปภาพ JPEG แต่จะมีความละเอียดสูงกว่า สำหรับรูปภาพบนเว็บไซต์นั้น รูปภาพ JPEG มักเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากรูปภาพ JPEG มีขนาดไฟล์เล็กกว่าทำให้หน้าเว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น

Webp ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ภาพแบบใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ในปี 2010 WebP มีข้อดีคือสามารถบีบอัดไฟล์ภาพให้เล็กลงได้กว่าไฟล์ภาพแบบ JPEG และ PNG มากถึง 30% โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพมากนัก นอกจากนี้ WebP ยังรองรับการแสดงผลแบบโปร่งใสได้เช่นเดียวกับไฟล์ PNG ซึ่งมีประโยชน์สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้ภาพพื้นหลังโปร่งใสแต่มีขนาดเล็กกว่า PNG นั้นเอง ใน WordPress ยังมี Plugin ที่ช่วยแปลงไฟล์รูปให้กลายเป็น webp ไม่ว่าจะอัพโหลดไฟล์ JPEG หรือ PNG เข้าไป Plugin ก็จะแปลงไฟล์ให้เป็น Webp โดยอัตโนมัต เช่น

  • Imagify เป็นปลั๊กอินเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพ WordPress ที่สร้างโดยทีมงาน WP Rocket ซึ่งเป็นปลั๊กอินแคช WordPress ที่ดีที่สุด ช่วยให้คุณปรับแต่งและแปลงรูปภาพเป็นรูปแบบ WebP ได้อย่างง่ายดาย
  • EWWW Image Optimizer เป็นปลั๊กอินเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพ WordPress ที่ได้รับความนิยม สามารถแปลงรูปภาพที่มีอยู่ของคุณให้อยู่ในรูปแบบ WebP และบีบอัดรูปภาพในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกด้วย
  • WebP Express เป็นปลั๊กอินฟรีที่ใช้งานง่าย สามารถแปลงรูปภาพที่มีอยู่ของคุณให้อยู่ในรูปแบบ WebP และแสดงรูปภาพ JPEG หรือ PNG เป็นตัวเลือกสำรองในเบราว์เซอร์ที่ยังไม่รองรับ WebP
  • Converter for Media (Recommend) เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ของคุณโดยการแปลงและปรับแต่งรูปภาพให้อยู่ในรูปแบบ WebP และ AVIF ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ที่ทันสมัยและมีขนาดเล็กกว่าไฟล์ JPEG หรือ PNG แบบเดิม ทำให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้นและประหยัดพื้นที่จัดเก็บ

การเลือกปลั๊กอินที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของคุณ หากต้องการปลั๊กอินที่ใช้งานง่ายและฟรี WebP Express เป็นตัวเลือกที่ดี หากคุณต้องการปลั๊กอินที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพในรูปแบบอื่นๆ ได้ด้วย Imagify และ EWWW Image Optimizer ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีไม่แพ้กัน

5.2 ลดขนาดไฟล์รูปภาพ

หลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพที่มีความละเอียดสูงเพื่อให้หน้าเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น คุณสามารถใช้โปรแกรมบีบอัดรูปภาพเพื่อลดขนาดไฟล์ของรูปภาพลงได้ เช่น Photoshop, Fotor, iLoveIMG เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเว็บที่ให้บริการเกี่ยวการบีบอัดรูปภาพ เช่น

5.3 ตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้เหมาะสม

การตั้งชื่อรูปภาพที่สือความหมาย เข้ากับบทความ เช่น content-writer.jpeg แทน image_01.jpeg เป็นต้น ใช้ – (hyphen) แทนการใช้ – (underscore) ในการตั้งชื่อรูปภาพ

5.4 เพิ่ม Alt Text ให้กับรูปภาพ

การเพิ่ม Alt Text ในรูปภาพของ WordPress

Alt Text หรือ Alternative Text ช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาของรูปภาพได้ดีขึ้น เครื่องมือค้นหาจะใช้ Alt Text เพื่อแสดงคำอธิบายของรูปภาพในผลการค้นหา ตัวอย่างเช่น รูปภาพสุนัข ใช้ Alt Text: สุนัขตัวใหญ่สีน้ำตาลกำลังวิ่งเล่นในสนามหญ้า เป็นต้น

แนะนำให้แทรก Keyword หลักที่เราทำในหน้าบทความนั้นๆลงไปด้วย จะช่วยเพิ่มคะแนนอันดับ SEO ได้

6. ใช้ URL-Friendly ในการเขียนบทความ SEO

URL-Friendly หรือ Slug คือ URL ที่สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนหรือยาวจนเกินไป และสามารถอธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บนั้นได้อย่างชัดเจน แนะนำให้เป็นภาษาอังกฤษ เพราะถ้าหากเป็นภาษาไทยเวลาแชร์ต่อในที่ต่างๆ จะเพี้ยนเป็นภาษาที่อ่านไม่รู้เรื่องและยาวขึ้นเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น “https://www.ehowme.com/สวัสดี” พอ copy ไปวางบน social media จะกลายเป็น “https://www.ehowme.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B5” เป็นต้น ดังนั้นใช้ Slug ภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายกับบทความดีกว่า

เช่นบทความใน “การทำ On-Page SEO ให้ติดอันดับ 1 Google” ใช้ slug “https://www.ehowme.com/seo-on-page” เป็นต้น

7. การทำ Internal link & Outbound link

Internal link เป็นลิงก์ที่เชื่อมโยงระหว่างหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณเอง การทำ Internal link จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาอื่นๆ บนเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณได้ดีขึ้น

  • เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ
  • เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ซ้ำซ้อนกัน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลิงก์ของคุณทำงานได้อย่างถูกต้อง

Outbound link เป็นลิงก์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ การทำ Outbound link จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณกำลังเขียนได้ และช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาของคุณได้ดีขึ้น

  • เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงและเกี่ยวข้อง
  • เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่ซ้ำซ้อนกัน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลิงก์ของคุณทำงานได้อย่างถูกต้อง

การเขียนบทความ SEO ไม่ใช่เรื่องยากหากคุณทราบเคล็ดลับพื้นฐานที่คุณไม่ควรพลาด! การเลือกหัวข้อที่เหมาะสม การค้นหาและวิเคราะห์คำสำคัญ การสร้างโครงเรื่อง การเขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพ การใช้ตัวหนา (bold) และรูปแบบต่างๆ การตรวจสอบคำผิด และการปรับแต่ง SEO เป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเขียนบทความ SEO อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มาเริ่มต้นเขียนบทความ SEO ของคุณและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จบนเว็บไซต์ของคุณได้เลย!

Share this article