Keyword Research Featured Image

การทำ Keyword Research คือ กระบวนการค้นหาและวิเคราะห์คำหรือวลีที่คนใช้ค้นหาข้อมูลจาก Search engine เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำ SEO (Search Engine Optimization) หรือการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้นๆ บนผลการค้นหาของ Google การทำ Keyword Research จะช่วยให้คุณเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณกำลังค้นหาอะไร และต้องการให้คุณนำเสนอเนื้อหาแบบไหน เพื่อให้พวกเขาคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาของคุณ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ของคุณ

คีย์เวิร์ด (Keyword) คืออะไร?

คีย์เวิร์ดมีความสำคัญต่อการทำ SEO เพราะช่วยให้เว็บไซต์หรือเนื้อหาของเราถูกค้นพบได้ง่ายขึ้นเมื่อมีคนค้นหาคำหรือวลีเหล่านั้นบนอินเทอร์เน็ต ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ Keyword กันก่อนว่าคืออะไร คีย์เวิร์ดเป็นคำหรือวลีที่คนใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นบ่งบอกถึงปัญหาหรือความต้องการของผู้ค้นหา อาจเป็นคำทั่วไป เช่น “อาหารไทย” หรือคำเฉพาะเจาะจง เช่น “วิธีทำผัดไทย” “ร้านอาหารไทยในกรุงเทพฯ” เป็นต้น

ประเภทของ Keyword

1. Generic Keyword

คีย์เวิร์ดทั่วไปที่มีความหมายกว้างๆ ครอบคลุมกลุ่มผู้ค้นหาจำนวนมาก เช่น “อาหารไทย” “ท่องเที่ยว” “สินค้าอิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น คีย์เวิร์ดประเภทนี้มักมีปริมาณการค้นหาสูง แต่การแข่งขันก็สูงเช่นกัน จึงทำให้ยากที่จะติดอันดับต้นๆ บนผลการค้นหา

Generic Keyword มักใช้สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ประเภท Mass Marketing ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มผู้ค้นหาจำนวนมาก เช่น การทำโฆษณาออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ การโปรโมตสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

2. Niche Keyword

คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจง มีปริมาณการค้นหาน้อยกว่า Generic Keyword แต่การแข่งขันก็น้อยกว่าเช่นกัน มักใช้สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ประเภทเจาะกลุ่มเป้าหมาย (Targeted Marketing) ที่ต้องการดึงดูดให้ผู้ค้นหาเข้ามาที่เว็บไซต์หรือเนื้อหาของเราเอง

3. Long-tail Keyword

คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจง มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ค้นหาแคบๆ มักประกอบไปด้วยคำมากกว่าสองคำขึ้นไป Long-tail Keyword เหมาะสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ประเภท Inbound Marketing ที่ต้องการดึงดูดให้ผู้ค้นหาเข้ามาที่เว็บไซต์หรือเนื้อหาของเราเอง

ขั้นตอนการทำ Keyword Research มีดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของคุณ

สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือการกำหนดเป้าหมายของคุณว่าคุณต้องการทำ Keyword Research เพื่อวัตถุประสงค์ใด คุณต้องการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ของคุณ คุณต้องการเพิ่ม Conversion Rate หรือคุณต้องการเพิ่มยอดขาย

การกำหนดเป้าหมายของคุณจะช่วยให้คุณกำหนดขอบเขตในการค้นหา Keyword ได้

2. ทำรายการหมวดหมู่คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายของคุณได้แล้ว คุณก็เริ่มทำรายการหมวดหมู่คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณได้ หมวดหมู่คำเหล่านี้อาจเป็นคำหลักทั่วไปหรือคำหลักเฉพาะเจาะจงก็ได้

ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหาร คุณอาจเริ่มด้วยหมวดหมู่คำทั่วไป เช่น “ร้านอาหาร” “อาหาร” “รีวิวร้านอาหาร” จากนั้นจึงค่อยๆ เจาะลึกลงไปในหมวดหมู่คำเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น “ร้านอาหารไทย” “ร้านอาหารญี่ปุ่น” “ร้านอาหารอิตาเลียน”

3. สร้างรายการ Keyword หลักของคุณ

หลังจากที่คุณทำรายการหมวดหมู่คำเรียบร้อยแล้ว คุณก็เริ่มสร้างรายการ Keyword หลักของคุณได้ Keyword หลักคือคำหรือวลีที่มี Volume ในการค้นหาสูงและการแข่งขันไม่สูงมาก คุณสามารถใช้เครื่องมือค้นหา Keyword เพื่อช่วยให้คุณสามารถค้นหา Keyword หลักได้

4. ศึกษาเจตนาในการค้นหา

นอกจาก Volume ในการค้นหาและการแข่งขันแล้ว คุณต้องศึกษาเจตนาในการค้นหาของ Keyword นั้นๆ ด้วย เจตนาในการค้นหา คือสิ่งที่คนต้องการเมื่อพวกเขาค้นหา Keyword นั้นๆ

เจตนาในการค้นหามี 4 ประเภท ได้แก่

  • Informational : ต้องการค้นหาข้อมูล
  • Navigational : ต้องการไปยังเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเฉพาะเจาะจง
  • Commercial : ต้องการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ
  • Transactional : ต้องการดำเนินการบางอย่าง เช่น จองโรงแรม ซื้อตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ

6. ใช้เครื่องมือช่วยค้นหา (Keyword Research Tool)

เมื่อวิเคราะห์ Keyword เรียบร้อยแล้ว ก็เลือก Keyword ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของเรา โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณการค้นหา การแข่งขัน ค่าใช้จ่ายต่อคลิก ความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา เป็นต้น สำหรับเครื่องมือช่วยค้นหาและวิเคราะห์คีย์เวิร์ดนั้นมีหลายเครื่องมือ มีทั้งฟรีและเสียเงิน ที่นิยมใช้กันก็จะมี

  • Google Keyword Planner (ฟรี)
  • Google Trends (ฟรี)
  • Ubersuggest (ฟรีบางฟีเจอร์และเสียเงิน)
  • Keyword Tool.io (ฟรีบางฟีเจอร์และเสียเงิน)
  • Ahrefs (ฟรีบางฟีเจอร์และเสียเงิน)
  • Semrush (ฟรีบางฟีเจอร์และเสียเงิน)

โดยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าคำที่เราใส่ลงไป มีการค้นหาปริมาณเท่าไหร่ คู่แข่งเยอะไหม พร้อมยังแนะนำคำที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงให้เราเอาไปทำเป็น Content ต่อได้อีก โดยแต่ละเครื่องมือเหล่านี้มีฟีเจอร์และจุดเด่นที่แตกต่างกันไป แนะนำให้ลองใช้เครื่องมือหลายๆตัว เพื่อเปรียบเทียบและหาเครื่องมือที่เหมาะกับเรามากที่สุด

7. เทคนิคการเลือก Keyword มาใช้งาน

ตัวอย่าง Keyword Research ที่แสดงให้เห็นถึง Search Volume และ Keyword Difficulty (KD)

ตัวอย่างการหา Keyword จากเว็บ Ubersuggest

เมื่อได้ลิสต์ของ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมาแล้ว คุณจะเห็นว่าตัวคำค้นที่ได้มานี้จะมีจำนวนมาก ซึ่งจะต้องทำการคัดเลือก Keyword ที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดออกมาก่อน

ค่าที่ใช้ดูเพื่อคัดเลือก Keyword มาใช้งาน

  • Search Volume คือจำนวนการค้นหาคำหลักหรือคีย์เวิร์ดบน Search Engine ในแต่ละเดือน ซึ่งสามารถวัดได้จากเครื่องมือค้นหา Keyword ต่างๆ เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest เป็นต้น ยิ่งปริมาณการค้นหามาก ก็จะทำให้มีคนเข้าเว็บเรามากไปด้วยเช่นกัน (แต่ต้องติดอันดับด้วยนะ)
    โดยปกติแล้ว Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาสูงจะมีการแข่งขันสูงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรเลือก Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาเหมาะสมกับเป้าหมายและธุรกิจ โดยพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ข้างต้นร่วมด้วย
  • Click Through Rate (CTR) คือ อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น (Clicks per Impressions) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของเนื้อหาหรือเว็บไซต์ โดยคำนวณจากจำนวนคลิกที่เว็บได้รับหารด้วยจำนวนครั้งที่โฆษณาปรากฏ CTR เป็นตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อการทำการตลาดออนไลน์ เนื่องจากสามารถวัดประสิทธิภาพของโฆษณาหรือเนื้อหาได้ โดยค่า CTR ที่สูง แสดงว่าโฆษณาหรือเนื้อหานั้นมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้ชม ทำให้ผู้ชมคลิกเข้ามาอ่านรายละเอียดในเนื้อหามากนั้นเอง
  • Keyword Difficulty (KD) คือ ค่าที่แสดงถึงความยากง่ายในการติดอันดับของ Keyword นั้นๆ โดยค่า KD มักถูกแสดงเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0-100 โดยที่ค่า KD ที่ต่ำจะหมายถึง Keyword นั้นๆ ทำอันดับได้ง่าย ส่วนค่า KD ที่สูงจะทำอันดับได้อยากนั้นเอง ตัวเลขเหล่านี้จะช่วยให้เราตัดสินใจว่าจะเลือก Keyword คำไหนมาใช้ หากคีย์หลักที่เราจะใช้มีค่า KD ที่สูงเกินไป อาจจะลองเลือกใช้คีย์เวิร์ดแบบ Long-Tail ที่มีคู่แข่งน้อยกว่ามาใช้แทน

ตัวอย่าง Keyword ที่เหมาะกับการทำ SEO เช่น

  • Keyword สั้นๆ ทั่วไป เช่น “รองเท้า” “มือถือ” “อาหาร”
  • Keyword ยาวๆ (Long-Tail Keyword) เช่น “รองเท้าผ้าใบผู้ชายสีขาว” “มือถือสเปคสูงราคาไม่เกิน 10,000 บาท” “ร้านอาหารอิตาเลียนใกล้ฉัน”
  • Keyword เฉพาะเจาะจง (Niche Keyword) เช่น “รองเท้าผ้าใบสำหรับวิ่ง” “มือถือสำหรับเล่นเกม” “ร้านอาหารอิตาเลียนแบบดั้งเดิม”

8. วิเคราะห์คู่แข่งของคุณ

การวิเคราะห์คู่แข่งของคุณก็มีความสำคัญเช่นกัน คุณควรศึกษาดูว่าคู่แข่งของคุณใช้ Keyword อะไรบ้าง และพวกเขาทำ Keyword Research อย่างไร จากการวิเคราะห์คู่แข่งของคุณ คุณอาจได้ไอเดียใหม่ๆ ในการค้นหา Keyword ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

เมื่อคุณทำ KW Research เสร็จแล้ว คุณก็สามารถนำ Keyword เหล่านั้นไปใช้ในการวางแผนเนื้อหาและการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางประการในการทำ Keyword Research

  • เว็บไซต์คู่แข่งทำคอนเทนต์ประเภทไหนลงบนเว็บไซต์บ้าง
  • มีการเขียนหัวข้อในบทความยังไงบ้าง
  • การวาง Density Keyword ในบทความมากแค่ไหน
  • วิเคราะห์บทความหรือหน้าเว็บเพจไหนที่ติดอันดับการค้นหาได้ดี

ไอเดียการเลือก Keyword

การเลือก Keyword จาก User’s Intent

User’s Intent เจตนาของผู้ใช้งาน คือจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้ ว่าต้องการหาอะไร โดยใช้คีย์เวิร์ด (Keyword) ค้นหาบน Search Engine ความต้องการก็อาจจะมีหลายแบบ เช่น การหาข้อมูล การอ่านรีวิวสินค้า หรือการหาซื้อสินค้า เป็น

การเข้าใจ User’s Intent ของคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำ จะช่วยให้เราสร้างเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหา ซึ่งเป็นผลดีกับการทำอันดับใน Google นั้นเอง ประเภทของ User’s Intent แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. Informational : เป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งต่างๆ เช่น “วิธีทำผัดไทย” “ประวัติความเป็นมาของไทย” “อาการของโรคภูมิแพ้” เป็นต้น
  2. Navigational : เป็นการค้นหาเว็บไซต์หรือหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจง เช่น “เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ” “เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” “เว็บไซต์โรงพยาบาลสมิติเวช” เป็นต้น
  3. Commercial : เป็นการค้นหาเพื่อเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น “โน้ตบุ๊คสเปคแรง” “โทรศัพท์มือถือราคาไม่เกิน 20,000 บาท” “ทัวร์ยุโรป 10 วัน” เป็นต้น
  4. Transactional : เป็นการค้นหาเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการโดยตรง เช่น “สั่งซื้อเสื้อยืด” “จองตั๋วเครื่องบิน” “ซื้อประกันรถยนต์” เป็นต้น

การเลือก Keyword จาก Evergreen Content

Evergreen Content คือ คอนเทนต์ที่ยังคงมีความสดใหม่ มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม คอนเทนต์ประเภทนี้มักเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ หรือเทคนิคต่างๆ ที่ยังใช้ได้หรือเป็นปัญหาสำหรับผู้คนอยู่ เช่น บทความสอนทำอาหาร บทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว บทความแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การทำ Content ประเภทนี้มีความยาก ค่อนข้างใช้เวลานาน แต่ก็คุ้มค่า เพราะการทำบทความ Evergreen บทความเดียวเรียกสามารถคนเข้าเว็บได้นานเป็นปี ผู้คนจะกลับมาอ่านซ้ำๆ อยู่เสมอ แต่ก็ใช่ว่าเขียนเสร็จแล้วปล่อยทิ้งไว้ได้เลย เพราะข้อมูลในวันนี้อาจจะใช้ไม่ได้แล้วในอนาคต เราควรกลับมาอัปเดตเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งเปลืองแรงน้อยกว่าเขียนบทความขึ้นมาใหม่ด้วยครับ วิธีนี้นอกจากจะช่วยคงอันดับไว้ได้นานแล้ว ยังมีโอกาสได้อันดับที่ดีขึ้นใน Google อีกด้วย

การเลือก Keyword จาก Google Suggest

Google Suggest เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราค้นหาคำหรือวลีที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยแสดงคำหรือวลีที่ผู้คนนิยมค้นหาตามคำหรือวลีที่เราป้อนลงไป

เมื่อเราพิมพ์คำหรือวลีลงในช่องค้นหาของ Google Google Suggest จะแสดงคำหรือวลีที่เกี่ยวข้องออกมา โดยคำหรือวลีเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่งที่เราอยู่ ประวัติการค้นหาของเรา และแนวโน้มการค้นหาในปัจจุบัน

การหา Keyword จาก Google Suggest

การหา Keyword จาก Google Suggest สามารถทำได้ดังนี้

  1. เข้าไปที่หน้าค้นหาของ Google
  2. พิมพ์คำค้นหาที่ต้องการ
  3. สังเกตที่ช่องคำค้นหา จะมีผลลัพธ์คำค้นหาที่ใกล้เคียงโผล่ออกมา
  4. คลิกเลือกคำค้นหาที่ต้องการ

การเลือก Keyword จากคู่แข่ง

การเลือก Keyword จากการวิเคราะห์เว็บของคู่แข่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ได้ผล ส่วนใหญ่ผมจะใช้วิธีนี้เมื่อเราตัน คิด Content ไม่ออก การอาศัยข้อมูล Keyword จากคู่แข่งมาวิเคราะห์เพื่อเลือก Keyword จากหน้าที่เค้าทำไว้ไม่ค่อยดีหรือเราคิดว่าเรามีข้อมูลที่แน่นกว่า ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ส่วนเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ก็มีหลายอย่าง เช่น Google Keyword Planner, Semrush, Ahrefs เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่ผมใช้ Ubersuggest เป็นหลัก ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก

อ่านบทความ : ขนาดรูป Facebook 2024

Share this article